เมื่อนึกไปถึงสมัยตอนราวๆ ป.5-ป.6 ของคนที่วัย 30 ปลายๆแล้วนั้น วิชาทางด้านดนตรีไทยนั้น เป็นวิชาที่หลายๆคนอาจจะไม่ชอบเอาเสียเลย แม้กระทั่งแอดมินเองก็ตาม ก็แน่นอนล่ะ เพลงไทยที่ต้องร้องในวิชานี้มันช่างดูเป็นเพลงที่ร้องไม่มันส์เอาเสียเลย ทั้งๆที่ทีวีและเพลงในยุคนั้น ก็มีแต่เพลงมันส์ๆเช่น วงพลอย บิลลี่โอแกน อะไรเช่นนี้ .. การที่ครูให้เรามาร้องเพลงไทยเดิม พร้อมกับคุณครูนั่งตีฉิ่งประกอบเพลงช่างเป็นอะไรที่ไม่สนุก  แต่ เมื่อเวลาผ่านไปนานวันเข้า ผมเพิ่งมารู้ถึงว่าไพเราะตอนผมเริ่มเข้าวัยรุ่นใหญ่แล้ว เป็นช่วงที่เราฟังเพลงหลายๆแนว และ เพลงลาวดวงเดือนที่เด็กๆรุ่นใหม่หลายคนไม่รู้จักเลย ..กลับทำให้เราสงสัยว่า ทำไม! เขาจึงไม่รู้จักเพลงที่สุดไพเราะเพลงนี้  ว่าแล้วก็อยากให้ทุกคนลองฟังและพยายามฟังอีกครั้ง แล้วจะรู้ว่า ถ้อยคำ ท่วงทำนองของการเขียนเพลงๆนี้ ช่างไพเราะงดงามจริงๆ

..... ไม่นับว่า การรำประกอบเพลง นะ ส่วนนี้ แอดมินได้เกรดสองมาก็เพราะตอนรำไทยนี่แหละ 555

d9bee67408924a2058e7bd27dfad9869

เนื้อเพลง "ลาวดวงเดือน"

โอ้ละหนอ ดวงเดือนเอย
พี่มาเว้ารัก เจ้าสาวคำดวง
โอ้ว่าดึกแล้วหนอ พี่ขอลาล่วง
อกพี่เป็นห่วง รักเจ้าดวงเดือนเอย
ขอลาแล้ว เจ้าแก้วโกสุม
พี่นี้รักเจ้าหนอ ขวัญตาเรียม
จะหาไหนมาเทียม โอ้เจ้าดวงเดือนเอย (ซ้ำ 2 รอบ)
[หอมกลิ่นเกสร เกสรดอกไม้ :หอมกลิ่นคล้ายคล้าย เจ้าสูเรียมเอย (ซ้ำ)]

หอมกลิ่นกรุ่นครัน หอมนั้นยังบ่เลย
เนื้อหอมทรามเชย เอยเราละเหนอ
โอ้ละหนอ นวลตาเอย
พี่นี้รักแสนรัก ดังดวงใจ
โอ้เป็นกรรม ต้องจำจากไป
อกพี่อาลัยเจ้า ดวงเดือนเอย
เห็นเดือนแรม เริศร้างเวหา
เฝ้าแต่เบิ่งดูฟ้า (ละหนอ)เห็นมืดมน
พี่ทนทุกข์ทุกข์ทน โอ้เจ้าดวงเดือนเอย
พี่ทนทุกข์ทุกข์ทน โอ้เจ้าดวงเดือนเอย
เสียงไก่ขันขาน เสียงหวานเจื้อยแจ้ว
หวานสุดแล้วหวาน แจ้วเจื้อยเอย (ซ้ำ)
ถึงจะหวานเสนาะ หวานเพราะกระไรเลย
บ่แม้นทรามเชย เราละเหนอ (ซ้ำ)

ประวัติเพลงลาวดวงเดือน
เพลงลาวดวงเดือนเป็นเพลงไทยเดิมจังหวะ ๒ ชั้น เนื้อเพลงมีความซาบซึ้ง กับท่วงทำนองและถ้อยคำงดงามทางวรรณศิลป์ ที่มาของเพลงเพลง นี้ เป็นเรื่องจริงยิ่งกว่านิยาย รัก เศร้าเรื่องหนึ่ง เปิดฉากด้วยความรักซาบซึ้ง และจบด้วยการพลัดพรากจากกันชั่วชีวิต ฝ่ายชายได้แต่ถ่ายทอดความรักอาลัยผ่านบทเพลงอมตะเพลงนี้

Benbadhanabongse

** พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์

เรื่องราวความรัก เริ่มตนเมื่อพระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ พระราชโอรสองค์ที่ ๓๘ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ เจ้าจอมมารดามรกฎ เมื่อพระชนมายุ ๑๗ พรรษา เสด็จไปทรงศึกษา ณ วิทยาลัยเกษตรกรรมเวลลิงตัน ฮอล์ ประเทศอังกฤษ ทรงใช้เวลาศึกษาอยู่สามปีครึ่ง แล้วเสด็จกลับกรุงสยาม ขณะมีพระชนมายุ ๒๑ พรรษา เพื่อทรงเตรียมพระองค์เข้ารับราชการในกระทรวงเกษตร เสด็จไปยังนครเชียงใหม่ เจ้าหลวงอินทวโรรสสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้จัดงานต้อนรับเจ้าชายหนุ่มรูปงาม ด้วยพิธียิ่งใหญ่ และจัดให้มีละครคุ้มหลวงเมืองเชียงใหม่ให้ทอดพระเนตร

ในการแสดงครั้งนี้มีเจ้านายเมืองเหนือและแขกชาวต่างชาติมาชมอย่างหนาแน่น ระหว่างการแสดงพระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์แทนที่จะทรงพระสำราญกับละคร แต่สายพระเนตรจับจ้องไปยังสาวน้อยวัยแรกรุ่นนางหนึ่ง คือ เจ้านางชมชื่น ณ เชียงใหม่ ธิดาคนโตวัย ๑๖ ปี ของเจ้าราชสัมพันธวงศ์ (ธรรมลังกา) เมืองเชียงใหม่ กับ เจ้านางคำย่น รักแรกพบของเจ้าชายหนุ่ม พระองค์แทบจะทนให้ผ่านพ้นค่ำคืนนี้ไม่ได้ เช้าวันรุ่งขึ้นมีพระดำรัสให้พระยานริศราชกิจ ข้าหลวงต่างพระเนตรพระกรรณประจำเมืองเชียงใหม่ให้นำพระองค์ไปยังคุ้มของเจ้าราชสัมพันธวงศ์ เพื่อผูกไมตรีกับท่านเจ้าของคุ้ม ซึ่งแท้ที่จริงแล้วพระองค์ทรงปรารถนาที่จะทอดพระเนตรเจ้านางชมชื่น ผู้เลอโฉม

และนับแต่นั้นพระองค์ทรงเสด็จไปคุ้มเจ้าราชสัมพันธวงศ์ทั้งเช้าเย็น โดยมีเจ้านางชมชื่นถวายการต้อนรับ เวลาผ่านไปไม่นาน พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ทรงบังคับให้พระยานริศราชกิจไปสู่ขอเจ้านางชมชื่นให้พระองค์ แต่เจ้าราชสัมพันธวงศ์ขอผัดผ่อนด้วยขอให้จ้านางชมชื่นมีอายุ ๑๗ พรรษาก่อน แล้วจะนำตัวมาถวาย หรือถ้าพระบาทสมเด็จเจ้าอยู่ทรงทราบและทรงพระราชทานพระอนุญาตก็ไม่ขัดข้อง แต่ที่จริงแล้วการที่เจ้าราชสัมพันธวงศ์ปฏิเสธการสู่ขอนั้น เพราะได้ทราบว่าพระเจ้าองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์มีสะใภ้หลวงอยู่ที่เมืองหลวงแล้ว

 

ในเวลาต่อมาอีกไม่นานก็มีหมายรับสั่งจากเมืองหลวงให้พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ เร่งเสด็จกลับแต่พระองค์ทรงบิดพลิ้ว และก็มีพระราชโทรเลขจากพระราชบิดามากำชับอีก จึงจำต้องเสด็จกลับพระเกรงพระราชอาญาและไม่ได้เสด็จกลับมายังนครเชียงใหม่อีกเลย ตราบจนสิ้นพระชนม์ขณะมี พระชนมายุ ๒๘ พรรษา ขณะทรงกรมเป็นกรมหมื่นพิไชยมหินทโรดมได้เพียงปีเศษ หลังจากพระองค์เสด็จกลับมายงพระนครแล้ว ทรงอาลัยรักต่อเจ้านางชมชื่นอย่างสุดซึ้ง ได้เป็นแรงบันดาลใจให้พระองค์ทรงนิพนธ์เพลง "ลาวดำเนินเกวียน" หรือ “ลาวดวงเดือน” ขึ้นและได้กลายเป็นเพลงรักอมตะเพลงหนึ่งจวบจนถึงทุกวันนี้ ส่วนเจ้านางชมชื่น ณ เชียงใหม่ เมื่อมีอายุ ๑๗ – ๑๘ ปี เจ้านายญาติวงศ์ได้จัดให้เข้าพิธีเสกสมรสกับเจ้าเมืองคำ ณ ลำพูน ซึ่งเป็นเจ้านายบุตรหลานของเจ้าดาราดิเริกรัตนไพโรจน์ เจ้าเมืองลำพูน แต่ชีวิตสมรสก็ไม่ราบรื่นงดงามนัก หลังจากมีบุตรชายด้วยกันคนหนึ่งก็เป็นอันต้องแยกทางกัน เป็นอันจบตำนานรัก เพลงลาวดวงเดือน

สำหรับท่านที่อยากดูคอร์ทของเพลงนี้ เข้าดูได้ที่เว็บนี้เลยจ้า https://www.guitarthai.com/chord/chordview.asp?QID=4670

Q4670

powered by social2s

สาวสวยน่ารัก สปป.ลาว

มาสด้าปากเซ
เรียน autocad ที่ลาว
รับทำแฟนเพจลาว
ทัวร์ลาว นำเที่ยวลาว รถตู้ไปลาว

Go to top